วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 15 มกราคม 2559 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์แจกกระดาษ ให้หยิบกระดาษ 1 ใบ ต่อ 1คน กระดาาไม่พอ กับจำนวนนักศึกษาแล้วอาจารย์จึงให้นับจำนวนคนที่ยังไม่ได้กระดาษ แสดงว่ามีจำนวนคนมากกว่ากระดาษ ท้ายคาบอาจารย์ให้เขียน mind mapping หัวข้อเรื่อง
"การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" โดยอาจารย์ได้แบ่งเป็น3หัวข้อหลักๆคือ
1.เด็กปฐมวัย
-ความหมาย
-พัฒนาการ
-ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
 เพียเจต์ 
 บรูเนอร์
-การเรียนรู้
 ทฤษฎี
 ความหมาย
 วิธีการเรียนรู้
2.คณิตศาสตร์
-ความหมาย
-สาระการเรียนรู้
-ทักษะคณิต
3.การจัดประสบการณ์
-ความหมาย
-ทฤษฎี
-หลักการ
-แนวทาง
-การปฏิบัติ
-ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ทักษะ
-การนับจำนวน
-การแก้ไขปัญหา

การประยุกต์ใช้
-ใช้ในการแจกนมให้เด็กๆแล้วถ้านมเกินแสดงว่าเด็กมาไม่ครบหรือการแจกถาดอาหาร

บรรยากาศในห้องเรียน
-แอร์ไม่เย็นจนเกินไปทำให้มีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น

ประเมินการสอน
-อาจารย์สร้างสถานการณ์ขึ้นมาทำให้เราได้ใช้ความคิดในการแก้ปัญหา

คุณธรรมจริยธรรม
-มีความรับผิดชอบ
-มีน้ำใจซึ่งกันและกัน



วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปตัวอย่างการสอน(โทรทัศน์ครู)

    ในช่วงกลางปีที่โรงเรียน เกรทบาร์ เมืองเบอร์มิงแฮม จะสอนให้เด็กเรียนรู้คณิตศาสตร์เป็นรายบุคคลคือการปูคณิตศาสตร์ให้แน่นและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยให้เด็กเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมที่มี ตัวเลข รูปร่าง ในชั้นเนิร์สเซอรี่จะมีครูเรเชลและผู้ช่วยครูวาเนสซา สอนเรื่อง การรู้จักตัวเลข การลำดับตัวเลข และการคำนวณ โดยการใช้เพลงในการสอน แล้วก็ออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ส่วนในชั้นอนุบาลจะมีครูอแมนดาเป้นผู้สอน เขาจะให้เด็กเล่นเกม เพราะเขาต้องการจะรู้ว่าเด็กรู้อะไรเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บ้างในชั้นเนิร์สเซอรี่แล้วต้องมั่นใจได้ว่าเด็กจะมีพัฒนาการเพื่อเตรียมตัวเอาอนุบาล อแมนดาได้กล่าวไว้ว่า"มุมมองคณิตศาสตร์ของผู้สอนจะสะท้อนไปยังเด็ก" ครูแต่ละคนจะมีสมุดจดบันทึกเพื่อติดตามผลการเรียนเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อรวบรวมข้อมูลแล้วรายงานผลให้ผู้ปกครอง

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม 2559 เวลาเรียน 13.30-17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์แจกกระดาษให้ 3 คนต่อ 1 แผ่น โดยให้ปบ่งกระดาษให้เท่าๆกัน แล้วให้เขียนจุดเด่นของตนเองที่อาจารย์จะสังเกตได้ แล้วอาจารย์ก็บอกให้ทำบล็อค
สิ่งที่ต้องมีในบล็อคคือ
1.คำอธิบายบล็อก 
2.อาจารย์ประจำวิชา
3.ผู้จัดทำ
4.รูปคณะศึกษาศาสตร์และมหาวิทยาลัย
5.นาฬิกาและปฎิทิน
6.ลิงค์รายชื่อเพื่อน
7.ลิงค์ที่เป็นความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 7.1. บทความ
 7.2. วิจัย
 7.3. โทรทัศน์ครู
 7.4. แหล่งการเรียนรู้

ทักษะ
 
-ได้ช่วยกันคิดวิธีแจกกระดาษวิธีต่างๆ ทำให้รู้ว่าการแจกกระดาษนั้นไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเดียว
-ได้ฝึกการคิด

การนำไปประยุกต์

เมื่อเราต้องแจกของให้เด็กๆก็จะหาวิธีที่ทำให้การแจกของนั้นรวดเร็วยิ่งขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน

แอร์เย็นเกินไป

ประเมินวิธีการสอน

อาจารย์มีวิธีการสอนที่จะตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิด ทำให้ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ 

คุณธรรมจริยธรรม

- ไม่เข้าเรียนสาย
- ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
- ไม่พูดคุยขณะที่อาจารย์สอน